หน้าเว็บ

สื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำประสม



คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป และมีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่คำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบท
          นาม+นาม หัวใจ
          นาม+กริยา บ้านเช่า
          นาม+สรรพนาม เพื่อนฝูง
          นาม+วิเศษณ์ น้ำแข็ง
          นาม + บุพบท คนนอก
          วิเศษณ์+กริยา ดื้อดึง
          วิเศษณ์ +วิเศษณ์ หวานเย็น


หน้าที่ของคำประสม
๑. ทำหน้าที่เป็นนาม, สรรพนาม เช่น พ่อครัว พ่อบ้าน แม่พระ ลูกเสือ น้ำตก ช่างไม้ ชาวบ้าน เครื่องบิน
หัวใจ นักการเมือง หมอตำแย ของเหลว
๒. ทำหน้าที่เป็นกริยา เช่น เสียเปรียบ กินแรง กินนอกกินใน อ่อนใจ ดีใจ เล่นตัว วางตัว ออกหน้า หักหน้า
ลองดี ไปดี
๓. ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ เช่น กินขาด ใจร้าย ใจเพชร ใจร้อน หลายใจ คอแข็ง
๔. ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น - ก้มหน้า หมายถึง จำทน
แกะดำ หมายถึง คนที่ทำอะไรผิดจากผู้อื่นในกลุ่ม
ถ่านไฟเก่า หมายถึง หญิงชายที่เลิกร้าง
ไก่อ่อน หมายถึง ยังไม่ชำนาญ
นกต่อ หมายถึง คนที่ติดต่อหรือชักจูงผู้อื่นให้หลงเชื่อ




การสร้างคำประสม
๑. สร้างจากคำไทยทุกคำ เช่น แม่น้ำ ที่ราบ ลูกช้าง หมดตัว กินที่ แม่ยาย
๒. สร้างจากคำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ เช่น เผด็จการ นายตรวจ ของโปรด
๓. สร้างจากคำภาษาต่างประเทศทั้งหมด เช่น รถเมล์ รถบัส รถเก๋ง กิจจะลักษณะ
๔. สร้างคำเลียนแบบคำสมาส แต่ปนกับคำไทย เช่น ผลไม้ คุณค่า พระอู่ เทพเจ้า พระที่นั่ง ทุนทรัพย์


ข้อสังเกตของคำประสม
๑. คำประสมอาจเกิดจากคำต่างชนิดรวมกัน เช่น กินใจ (คำกริยา+คำนาม) นอกเรื่อง (คำบุพบท+คำนาม)
๒. คำประสมเกิดจากคำหลายภาษารวมกัน เช่นรถเก๋ง (บาลี+จีน) เครื่องอิเล็กโทน (ไทย+อังกฤษ)
๓. คำที่ขึ้นต้นด้วย ผู้ นัก เครื่อง ช่าง หมอ ของ เป็นคำประสม เช่น ผู้ดี, นักเรียน, ชาวนา, เครื่องยนต์